ISO/IEC 17025:2017
ระบบมาตรฐาน ISO/IEC 17025 คืออะไร?
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.17025 (ISO/IEC 17025) เป็น ข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยความสามารถห้องปฏิบัติการในการดำเนินการทดสอบและ/ หรือสอบเทียบ ซึ่งจะประกอบด้วยข้อกำหนดด้านการบริหารงานคุณภาพและ ข้อกำหนดด้านวิชาการ โดยมาตรฐานนี้สามารถที่จะนำมาใช้ได้กับทุกองค์กรที่มี การดำเนินกิจกรรมการทดสอบและหรือสอบเทียบ
– ใช้เป็นเกณฑ์สำหรับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบของหน่วยรับรอง
– ใช้ในการยืนยันและยอมรับความสามารถของห้องปฏิบัติการโดยผู้ใช้บริการห้องปฏิบัติการหรือ องค์กรที่มีอำนาจตามกฏหมาย
ประโยชน์ที่ ได้รับการนำมาตรฐาน มอก.17025 มาใช้และการได้รับการรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการให้ประโยชน์หลายประการ ดังนี้
1. เพิ่มขีดความสามารถของห้องปฏิบัติการให้เป็นที่ยอมรับทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ
2. ทำให้เกิดความมั่นใจคุณภาพและความน่าเชื่อถือในรายงานผลการทดสอบ หรือผลการสอบเทียบจากห้องปฏิบัติการสอบเทียบหรือทดสอบ
3. ทำให้เกิดการยอมรับรายงานผลทดสอบและรายงานผลการสอบเทียบที่ออก โดยห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองจาก สมอ. ที่ได้รับการยอมรับในกลุ่ม ประเทศสมาชิก APLAC และ ILAC ในความเทียบเท่าทางด้านความ สามารถทางด้านวิชาการ
4. อำนวยประโยชน์และความสะดวกทางการค้าระดับประเทศและระดับระหว่าง ประเทศ
5. ลดการกีดกันทางการค้า อันเนื่องมาจากการทดสอบและลดการตรวจซ้ำ จากประเทศคู่ค้า
6. ได้รับการยอมรับให้เป็นหน่วยตรวจสอบของหน่วยงานเจ้าของกฎระเบียบ
หน่วยงานชันสูตรโรคสัตว์ กำแพงแสน ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025
ทั้งหมด 15 ขอบข่าย สร้างความเชื่อมั่นและการยอมรับของห้องปฏิบัติการที่มากขึ้นให้กับผู้ใช้บริการ
ขอขอบคุณผู้ใช้บริการทุกท่านที่ไว้วางใจ และเราจะพัฒนาต่อไป เพิ่มขอบข่ายการรับรองมากยิ่งขึ้น
มาตรฐาน ESPReL
กรอบคิดขององค์ประกอบของห้องปฏิบัติการปลอดภัย ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบที่เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบประกอบด้วย
1) การบริหารระบบจัดการด้านความปลอดภัย
2) ระบบการจัดการสารเคมี
3) ระบบการจัดการของเสีย
4) ลักษณะทางกายภาพของห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์และเครื่องมือ
5) ระบบการป้องกันและแก้ไขภัยอันตราย
6) การให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
7) การจัดการข้อมูลและเอกสาร
ศูนย์ชันสูตรโรคสัตว์ กำแพงแสน ได้จัดทำและเข้าร่วมเครื่อข่ายการรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ โดยได้ส่งห้องปฏิบัติการเข้าร่วมทั้งสิ้น 5 ห้องปฏิบัติการ ได้แก่
1.ห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยา
2.ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพ
3.ห้องปฏิบัติการซีรั่มวิทยา
4.ห้องปฏิบัติการความปลอดภัยทางอาหาร
5.ห้องปฏิบัติการสารพิธจากเชื้อรา
ซึ่งขณะนี้ได้อยู่ระหว่างการดำเนินการยื่นขอการรับรอง กับทาง สวพ.